















1. เกี่ยวกับเรา
โรงพยาบาลกรุงเทพปากช่อง เลขที่ 5/1 ถ.มิตรภาพ ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เว็บไซต์ www.bangkokhospitalpakchong.co.th บริษัทฯ เป็นสถานพยาบาลที่ให้บริการตรวจ รักษาโรค และบริการทางการแพทย์ ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บริษัทฯ จึงแจ้งเอกสารฉบับนี้ให้ท่านทราบ ถึงเหตุผลและวิธีการที่บริษัทฯ เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงแจ้งให้ท่านทราบสิทธิของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
2. วัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูล
โรงพยาบาลฯ ใช้ระบบกล้องวงจรปิด ในการเก็บภาพเคลื่อนไหวของท่านเพื่อ:
ป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล เช่น การก่ออาชญากรรม
เพื่อประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของบริษัท หรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เช่น เพื่อระงับเหตุอันตราย เหตุการณ์ที่ไม่ปกติ หรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน
3. จุดที่ตั้งกล้องวงจรปิด
กล้องวงจรปิดมีจำนวน 42 ตัว (ข้อมูล ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2565 โรงพยาบาลอาจมีการเพิ่มหรือลดจำนวนตามความเหมาะสม)
จุดที่ตั้งของกล้องวงจรปิด กระจายอยู่ทั่วโรงพยาบาล โดย กล้องวงจรปิดสามารถมองเห็นและเก็บข้อมูลได้ทุกจุดบริการและพื้นที่ปฏิบัติงาน ยกเว้นห้องน้ำ ห้องตรวจแพทย์ ห้องพักผู้ป่วย ห้องหัตถการ ทั้งนี้ห้องพักผู้ป่วยอาจมีการติดตั้งกล้อง CCTV เพื่อติดตามอาการผู้ป่วยในกรณีพิเศษ ซึ่งจะมีการแจ้งให้ทราบก่อนเข้ารับบริการ อีกทั้งกล้อง CCTV ณ แผนกการเงินเป็นกล้อง CCTV ที่สามารถบันทึกเสียงได้
4. ระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
ระบบกล้องวงจรปิด จะเก็บภาพเคลื่อนไหวของบุคคลที่เข้ามาในระยะที่กล้องสามารถจับภาพได้ตลอด 24 ชั่วโมง และข้อมูลภาพเคลื่อนไหวจะถูกลบทิ้งโดยอัตโนมัติทุก ๆ 30 วัน
ในกรณีที่เกิดเหตุอันตรายและข้อมูลในกล้องวงจรปิดได้นำไปใช้ในกระบวนการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่รัฐ ข้อมูลในกล้องวงจรปิดดังกล่าวจะนำไปใช้จนกว่ากระบวนการสืบสวนสอบสวนจะยุติลง
·หากข้อมูลในกล้องวงจรปิด ต้องนำไปใช้ในกระบวนการทางศาลเพื่อพิจารณาคดี ข้อมูลในกล้องวงจรปิดดังกล่าวจะนำไปใช้จนกว่ากระบวนการทางศาลนั้นจะสิ้นสุดลง
5. มาตรการด้านความปลอดภัย
โรงพยาบาลฯ จะจัดการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลด้วยมาตรการเชิงองค์กรและเชิงเทคนิคไม่น้อยกว่าระดับที่กฎหมายกำหนด และด้วยระบบที่เหมาะสม เพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลนั้น และจัดเก็บในสถานที่ที่มีระบบป้องกันการเข้าถึงที่จำกัด
กรณีที่บุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการขอดูหรือขอบันทึกข้อมูลจากกล้องวงจรปิด จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
กรอกแบบฟอร์มแจ้งความจำนงขออนุญาตดูบันทึกกล้องวงจรปิด
กรณีที่มีการร้องขอบันทึกข้อมูลกล้องวงจรปิดจะต้องแนบเอกสารบันทึกประจำวันจากตำรวจเพื่อแสดงความจำเป็นในการขอบันทึกข้อมูล
ส่งแบบฟอร์มมายังผู้ตรวจการ (Supervisor) เพื่อนำเสนอผู้บังคับบัญชาอนุมัติตามนโยบายของโรงพยาบาล
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำห้องควบคุมกล้องวงจรปิด รับแจ้งข้อมูลเรื่องการขอดูหรือขอบันทึกข้อมูลจากกล้องวงจรปิด จากผู้ตรวจการ (Supervisor)
ในกรณีอนุญาตให้ดูข้อมูลได้ ให้ผู้ตรวจการ (Supervisor) และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำห้องควบคุมกล้องวงจรปิด ร่วมอยู่ในขณะที่ผู้ร้องขอดูกล้องวงจรปิด
ให้บันทึกข้อมูลของผู้ร่วมดูข้อมูล และผลการตรวจสอบลงในแบบฟอร์มแจ้งความจำนงขอดูหรือขอบันทึกข้อมูลจากกล้องวงจรปิด และส่งต่อแบบฟอร์มให้กับหรือผู้จัดการฝ่ายที่รับผิดชอบงานรักษาความปลอดภัยเพื่อรับทราบ
กรณีที่มีการร้องขอข้อมูลกล้องวงจรปิดจากตำรวจ จะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ โดยเป็นลายลักษณ์อักษร
6. การแบ่งปันข้อมูลในกล้องวงจรปิดกับบุคคลที่สาม
โรงพยาบาลฯ อาจแบ่งปันข้อมูลในกล้องวงจรปิดกับเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น เฉพาะกรณีที่มีการร้องขอโดยเป็นลายลักษณ์อักษร และการร้องขอนั้นเป็นไปเพื่อกระบวนการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเพื่อการดำเนินคดีในกระบวนการทางศาล
โรงพยาบาลฯ อาจให้ผู้ให้บริการกล้องวงจรปิด (CCTV Vendor) เข้าถึงข้อมูลได้เพื่อการซ่อมบำรุงระบบเฉพาะในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากบริษัทฯ แล้วเท่านั้น และผู้ให้บริการจะต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลฯ เห็นชอบแล้วเท่านั้นในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลในกล้องวงจรปิด
7. สิทธิของท่าน
ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิร้องขอให้โรงพยาบาลฯ ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามขอบเขตที่กฎหมายอนุญาตให้กระทำได้ ดังนี้
1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent): ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความ ยินยอมในการประมวลผลข้อมูลสวนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับโรงพยาบาลฯ ได้ตลอดระยะเวลาที่ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับโรงพยาบาลฯ
2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access): ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและขอให้โรงพยาบาลฯ ทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว รวมถึงขอให้โรงพาบาลฯ เปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อโรงพยาบาลฯ ให้แก่ท่านได้
3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification): ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาลฯ แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือ เพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
4. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure): ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาลฯ ทำการลบข้อมูลของ ท่านด้วยเหตุบางประการได้
5. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing): ท่านมีสิทธิในการให้โรงพยาบาลฯ ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
6. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability): ท่านมีสิทธิในการโอนย้าย ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับโรงพยาบาลฯ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น หรือตัวท่านเองด้วยเหตุบาง ประการได้
7. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object): ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
ท่านสามารถติดต่อ สอบถามหรือใช้สิทธิใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ได้ที่ อีเมล weeravong.ra@bdms.co.th, [email protected]
หรือสามารถติดต่อด้วยตนเองที่ โรงพยาบาลกรุงเทพปากช่อง
เลขที่ 5/1 ถ.มิตรภาพ ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 เบอร์โทรศัพท์ 044-316611 ถึง 5
Cookies เป็นไฟล์เล็กๆเพื่อจัดเก็บข้อมูลโดยจะบันทึกลงไปในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือสื่อสารที่เข้าใช้งานของท่าน ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ที่ท่านเลือกใช้ในขณะที่ท่านเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา
เราใช้ Cookies เพื่อเก็บเอกลักษณ์การเข้าเยื่ยมเว็บไซต์ของท่าน โดยเอกลักษณ์นี้จะทำให้เราสามารถจำลักษณะการใช้งานเว็บไซต์ของท่านได้ง่ายขึ้น และข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปเพื่อปรับเว็บไซต์ของเราให้เข้ากับความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ในบางจุดเราจำเป็นต้องให้บุคคลที่สามในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งอาจจะต้องใช้ อินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรส (IP Address) และ Cookies เพื่อวิเคราะห์ ตลอดจนเชื่อมโยงข้อมูล และประมวลผลตามวัตถุประสงค์ทางการตลาด
ความหลากหลายและการทำงานของ Cookies
เราใช้ Cookies 4 ประเภทในเว็บไซต์ของเรา ซึ่งการใช้คุกกี้ดังกล่าวไม่สามารถบอกความเป็นตัวตนของท่านได้
ท่านสามารถลบคุกกี้ได้โดยศึกษาวิธีการต่างๆที่ระบุตามแต่ละเว็บเบราว์เซอร์ที่ท่านเลือกใช้ตามลิงก์ดังนี้
นโยบายCookies นี้จะมีการปรับปรุงแก้ไขตามโอกาสเพื่อปฎิบัติตามกฎระเบียบ เราขอแนะนำให้ท่านตรวจเช็คเพื่อให้แน่ใจว่าท่านได้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดดังกล่าว
* แก้ไขล่าสุด : 1 ตุลาคม 2564
วัคซีนมีความสำคัญกับเด็กอย่างมาก เพราะนอกจากช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ยังช่วยป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลต่อพัฒนาการการเติบโตในอนาคตได้ ดังนั้นเด็กจึงควรได้รับวัคซีนตามคำแนะนำของแพทย์ให้ครบตามช่วงอายุเพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรง
1.วัคซีนพื้นฐาน เป็นวุตซีนที่เด็กทุกคนควรจะได้รับตามเกณฑ์ และตามคำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดไว้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กไทยในแต่ละช่วงวัย
2.วัคซีนเสริมหรือวัคซีนทางเลือก จะมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรค ข้อดีของวัคซีนเสริมคือมีวัคซีนชนิดรวมฉีดเข็มเดียวแทนการแยกฉีดหลายเข็ม เช่น วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส วัคซีนตับอักเสบ เอ
3.วัคซีนเฉพาะ เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้า
**วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สำหรับเด็ก อายุตั้งแต่ 6 เดือน – 9 ปี ที่รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นปีแรกควรได้รับวัคซีน 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 เดือน
เนื่องจากวัคซีนทุกชนิดมีโอกาสทำให้เกิดอาการแพ้ได้แม้จะน้อยมากก็ตาม พ่อแม่ควรสังเกตอาการของเจ้าตัวน้อยหลังรับวัคซีนไปแล้ว 30 นาที ไปจนถึง 2-3 วัน หากมีไข้ขึ้น งอแง ไม่สบายตัว เกิดความผิดปกติรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
1.ควรนำสมุดบันทึกวัคซีนมาด้วยทุกครั้ง
2.ไม่ควรรับวัคซีนขณะมีไข้สูง หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน
3.หลังรับวัคซีนควรอยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อย 30 นาที เพื่อดูปฏิกิริยาแพ้ยา
ปัจจุบันกำหนดการรับวัคซีนจะอยู่ในประวัติข้อมูลของเด็กตั้งแต่เกิด ซึ่งแพทย์จะแจ้งให้คุณพ่อคุณแม่ทราบอย่างละเอียด สิ่งสำคัญคืออย่าละเลยที่จะพาลูกน้อยเข้ารับวัคซีนตามกำหนดเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว